การแบ่งมรดก กรณีไม่มีบิดามารดาและบุตร

 การแบ่งทรัพย์มรดก

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629  ทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับ

              (1). ทายาทโดยธรรม

               (2). บิดามารดา

(3). พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4). พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน

(5). ปู่ ย่า ตา ยาย

(6). ลุง ป้า น้า อา

 คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็เป็นทายาทโดยธรรม หากมีชีวิตอยู่มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็น

ทายาทชั้นบุตร

 นายเอและนางบี เป็นสามีภรรยาชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีบุตรด้วยกัน  บิดามารดาเสียชีวิตแล้ว แต่

มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันยังมีชีวิตอยู่คือนายซี และนายดี     ต่อมานายเอ เสียชีวิตลง ทรัพย์มรดกของนายเอคือบ้านพร้อมที่ดิน 1 หลัง มูลค่า 800,000 บาท  ทรัพย์มรดกจะตกทอดแก่ผู้ใดบ้าง

นางบี เป็นภรรยาชอบด้วยกฎหมายจะได้รับส่วนแบ่งเป็นสินสมรสครึ่งหนึ่งก่อน จำนวน 400,000 บาท  ส่วนที่เหลือเป็นทรัพย์มรดกจำนวน 400,000 บาท ต้องแบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรม คือนางบี ในฐานะภรรยาชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่งจำนวน 200,000 บาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1635 (2) ส่วนนายซีและนายดีในฐานะพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจะได้ส่วนแบ่งเท่ากันคนละ 100,000 บาท ดังนั้น นางบีในฐานะภรรยาชอบด้วยกฎหมายจะได้รับส่วนเป็นสินสมรสครึ่งจำนวน 400,000 บาท และทรัพย์มรดกอีกกึ่งหนึ่งจำนวน 200,000 บาท รวมเป็น 600,000 บาท  ส่วนนายซีและนายดี ในฐานะผู้น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจะได้รับ คนละ 100,000 บาท เป็นเงิน 200,000 บาท